อำนาจ ของ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้ ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทางพฤตินัย จึงเสมอเหมือนตัวรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจสูงสุด ทุกองค์กรและหน่วยงานต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า การที่บุคคลจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องผ่านการกลั่นกรองของอัยการสูงสุด แต่ใน พ.ศ. 2555 รัฐสภาได้เสนอร่างแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และอยู่ในขั้นตอนรอลงพระปรมาภิไธย คณะตุลาการฯ ได้วินิจฉัยให้ตัวศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับคำร้องเองโดยไม่ต้องผ่านอัยการ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่าศาลไม่มีอำนาจ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลาย ๆ คำร้องสำคัญ ศาลก็รับเรื่องเองโดยไม่ผ่านการกลั่นกรองของอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าการกระทำของศาลฯจะขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง ก็ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/776379 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.constitutionalcourt.or.th/index.php?opt... https://www.posttoday.com/politic/news/392771